ในยุค New Normal เราอาจจะไม่ได้สนใจว่าจะเข้าทำงานกี่โมง เลิกกี่โมง
เมื่อก่อนบางวัฒนธรรมอาจจะชื่นชอบคนที่มาทำงานแต่เช้า กลับบ้านดึกๆ
ดูแล้วเป็นคนที่รักองค์กร ทุ่มเทให้กับงานที่ทำ
พอกาลเวลาเปลี่ยนไป โดยเฉพาะยุคNew Normal บางคนยังอาจทำงานที่บ้านอยู่
สิ่งที่จะวัดผลได้ชัดเจนน่าจะเป็นผลงาน ชิ้นงานของคุณ มากกว่าเวลาเข้าออกของการทำงาน
.
คุณจึงต้องเพิ่มทักษะตนเองมากขึ้น หรือ หาอุปกรณ์ เครื่องมือที่มาช่วยให้การทำงานสะดวก รวดเร็วมากขึ้น
.
หากจะพูดให้ดูฟังง่ายๆ เวลาทำงานคนมักจะพูดมากกว่าทำ หากเราอยากเป็นคนที่มีผลลัพธ์จากการทำงาน เราควรทำตรงกันข้าม
.
Input คือการใส่ข้อมูลลงไปในสมอง ส่วน Output คือการจัดการกับข้อมูลที่ใส่เข้าไปในสมองให้แสดงผลออกมาสู่ภายนอก สู่สายตาผู้คน เช่น การอ่าน การฟัง ถือว่าเป็น Input ส่วนการพูด การเขียน การลงมือทำ ถือว่าเป็น Output
.
.
เช่น หากเรามีความคิดดีมากๆ แต่ไม่ลงมือทำ ความคิดดีๆก็หายไป หากเราประชุมถกเถียงกันในห้องประชุมอย่างดี ทุกคนต่างแสดงความคิดเห็นของตนออกมา พอเลิกประชุม ปรากฎว่าไม่มีใครเอาสิ่งที่คุยกันไปทำต่อเลย การประชุมนั้นก็เสียเปล่าประโยชน์
.
2. ขาดการ Feedback หรือการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดต่อไป จริงอยู่ที่คนส่วนใหญ่ชอบคำชม อยากให้คนอื่นชื่นชมเรามากกว่า แต่สิ่งที่จะทำให้เราเกิดการเติบโตพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจนเกิด Output ครั้งถัดไป นั่นต้องมาจาก Feedback ที่ดีจากคนรอบข้าง
3. ใช้เวลาไม่เหมาะสม ไม่รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เช่น เวลาในตอนเช้าควรทำงานที่สร้างผลลัพธ์ งานที่ใช้สมอง งานที่มีผลต่อเป้าหมายชีวิตเรา แต่หากว่าเช้านั้นเราใช้เวลาไปกับการคุยกับเพื่อน ไปกับการเสพข่าวร้าย ชีวิตเราก็จะรวนๆ และสุดท้ายผลลัพธ์ก็ไม่เกิด เพราะสมองมักทำงานได้ดีในตอนเช้า
4. ไม่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะสมองของมนุษย์ทำงานแบบ Multitask ไม่ได้ หากเราทำงานหลายอย่างพร้อมกัน จะทำให้สมองต้องทำงานหนัก ทำให้ความสามารถในการประมวลผลแย่ลง การทำ Multitask จึงเป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิด Output ออกมาซักเท่าไหร่ หรือหากทำได้Output ที่ได้ก็จะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเราควรจัดเวลาและเลือกทำให้เสร็จไปทีละอย่างจะดีกว่า
5. ไม่ยอมตัดสินใจ ชอบเกิดการลังเลว่าจะเอาอันไหนดี ทำให้สุดท้ายก็ไม่เกิดการลงมือทำ เพราะยังตัดสินใจ เลือกไม่ได้ หากตัดสินใจไม่ได้ บางครั้งอาจจะต้องใช้ความรู้สึกที่มันโผล่มา ณ แว้บแรก เลือกอันที่เราคิดได้ก่อน หรือเลือกอันที่เรารู้สึกตื่นเต้น หันมาฟังเสียงทางใจบ้าง หากเสียงทางความคิดมันดังเกิน
.
และนี่คือ กักดักที่ทำให้คนทุ่มเทเท่าไหร่ ผลลัพธ์ก็ไม่ค่อยออกมาซักที
ลองสำรวจดูว่าเราเป็นข้อไหน และลองค่อยๆปรับความคิด พฤติกรรมเราดู
หากเราเรียนเยอะ รู้เยอะ แต่สุดท้ายเอาไปทำประโยชน์หรือช่วยใครไม่ได้
เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ สมองเราก็อาจจะลืม แต่หากเรายิ่งเอามาใช้
สมองจะถูกเก็บไว้ว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญ ก็จะกลายเป็นความทรงจำระยะยาวแทน
หรือหากเราลงมือทำบ่อยๆจนชิน ก็จะกลายเป็นทักษะ เกิดการปรับปรุงจากสิ่งที่ได้ทำ
.
หากคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อผู้คน สามารถแชร์บทความนี้ได้เลย
เพื่อเราจะได้ช่วยกันพัฒนาให้คนของประเทศเราก้าวหน้า ยิ่งๆขึ้นไปค่ะ
.
อรพินท์ ธีระตระกูลชัย(เทรนเนอร์ซันนี่)
Team Energized Trainer นักปลุกศักยภาพผู้คน
===============================================
ติดตามเรียนรู้ออนไลน์ในช่องทางที่ท่านสะดวก
➲ Subscribe ติดตามดูวิดีโอหัวข้ออื่นๆ บรรยากาศในการเรียนรู้ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการ: https://goo.gl/rc8Ra1
.
รับความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองดี ๆ กับเทรนเนอร์ซันนี่ได้ทาง
➲ LINE OA : @trainersunny https://line.me/R/ti/p/%40trainersunny
.
➲ ติดตามพลังความคิดดีๆเสริฟถึงที่7โมง7นาทีทุกวัน :Fanpage(Trainer Sunny) https://www.facebook.com/Khwarmsook
.
➲ อ่านบทความอื่นๆในเว็บไซด์หรือดูหลักสูตรเพิ่มเติมที่ www.trainersunny.com
.
E mail: [email protected]
หรือหากอยากปรึกษาพูดคุยในด้านพัฒนาทักษะศักยภาพคนในองค์กร
สามารถติดต่อซันนี่ได้ทุกช่องทางที่ท่านสะดวกเลยนะคร้า
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า