แม้ว่าเกิดโควิด แต่ประสิทธิภาพการเรียนการสอนยังต้องดำเนินต่อไป
คนเป็นครูต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอนจากออฟไลน์(Offline)เป็นออนไลน์(Online)
นักเรียน นักศึกษาเองก็ต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน แต่วันนี้จะมาแชร์ในมุมผู้สอน
แม้เราเปลี่ยนสถานการณ์ไม่ได้ แต่เราปรับเปลี่ยนรูปแบบการตอบสนองของเราได้
เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ
วันนี้จะขอเจาะลึกในบางฟังก์ชั่นของโปรแกรม Zoom
หากใครอยากรู้ว่าแต่ละโปรแกรมมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ลองไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ได้
สิ่งที่จะทำให้ห้องเรียนออนไลน์เสมือนห้องเรียนออฟไลน์แบบที่มาเรียนในห้อง
ตัวผู้เขียนเองใช้หลายฟังค์ชั่นของ Zoom มาช่วยในการสอน และนี่คือ
10 เทคนิคที่ทำให้การเรียนออนไลน์ได้ผลเสมือนเรียนออฟไลน์
- ให้ผู้เรียนเปิดกล้อง ปิดไมค์ เพื่อเราจะได้เห็นหน้ากัน เหมือนตอนสอนในห้อง
- หากใครอยากตอบหรือมีคำถาม เราจะให้ใช้ปุ่มยกมือแทน จะรู้ว่าใครยกมือก่อน หลัง ยุติธรรมและจะไม่มีคนพูดว่าอาจารย์ไม่เห็นหนูยกมือเหมือนในห้องแน่นอน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในคลาสด้วย
- มีการชื่นชมผู้เรียน หรือให้ผู้เรียนมีEngage ระหว่างกันโดยการใช้ปุ่มไอคอนปรบมือ กดไลค์ ซึ่งอันนี้คนเรียนค่อนข้างชอบกัน
- บางครั้งผู้สอนเองก็ใช้วิธีการเรียกชื่อผู้เรียน โดยไม่ต้องให้เขาตั้งตัว จะทำให้คนเรียนตื่นตัว ต้องรู้สึกตั้งใจฟังตลอดคลาส เพราะไม่รู้ว่าจะถูกเรียกชื่อตอบตอนไหน ถ้าถูกเรียกชื่อแล้วตัวไม่อยู่ก็ถือว่าโดนเชคขาดทันที
- มีการพิมถามตอบความคิดเห็นผ่าน Chatbox เพราะอาจจะไม่มีโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้เปิดไมค์มาตอบ และเป็นการประหยัดเวลา ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเต็มที่เพราะไม่ได้ตีกรอบว่าต้องตอบแบบไหน
- ใช้ Poll เผื่อต้องการสำรวจความเห็นอะไรสั้นๆโดยมีตัวเลือกให้ แค่กดตอบเฉยๆ ก็จะเห็นความคิดเห็น ความรู้สึกของห้องสั้นๆเร็วๆ
- มีการให้แตกห้องย่อยๆ หรือแบ่งกลุ่มผู้เรียนกันเองโดยใช้ Break Out Room โดยผู้สอนยังสามารถเข้าไปฟังในห้องย่อย เผื่อมีคำถามสงสัย หรืออยากเเพิ่มเติมอะไรได้อีก
- บางคลาสให้ผู้เรียนเป็นคนนำเสนอ ใช้ ปุ่มShare สามารถแชร์หน้าจอของผู้เรียนได้เลย จะมีเปิดคลิป หรือสไลด์ก็ทำได้เช่นกัน (ต้องเตรียมเรื่องอินเตอร์เนตให้ดี)
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมบนหน้าจอ โดยใช้ Anotate ก็จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีสีสันมากขึ้น เหมาะกับการระดมสมองหรือให้ช่วยกันคิดพร้อมๆกัน
- ปุ่มล็อคห้องได้เมื่อถึงเวลาสอน ก็จะรู้เลยว่าคนไหนเข้าเรียนสายบ้าง
.
.
ข้อแนะนำคือ ไม่ควรสอนยาวๆ เพราะการที่ผู้เรียนต้องเปิดกล้อง
ตั้งใจในคลาส อาจจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าต่อสายตา
ร่างกายได้ ควรเป็นการเรียนรู้สั้นๆ แต่ได้ผลปังๆ
ที่สำคัญควรสังเกต ใส่ใจผู้เรียนทุกคน เพราะผู้เรียนเองก็อยากมี
โอกาสได้คุยกับเพื่อนๆเหมือนตอนอยู่ในห้อง
และอาจจะอยากมีความสัมพันธ์ระหว่างคนสอนและคนเรียน
.
.
โดยวิชาที่เราสอนเน้นให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม
เราอาจจะให้เขาถ่ายคลิปมาให้เราดู
มีการแชร์ให้เพื่อนๆในห้องได้เห็น แสดงความคิดเห็นกับเพื่อนได้
ก็จะช่วยให้Part Relationship ความสัมพันธ์นั้นไม่จางหายไปไหน
และต้องไม่ลืม Balance Connection ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองในคลาส
และระหว่างเนื้อหาที่สอนกับตัวผู้เรียนเอง
.
.
อย่าให้คนเรียนรู้สึกว่าต้องมาเรียนเพราะเป็นหน้าที่
แต่ผู้สอนเองต้องสร้างบรรยากาศในคลาส
ออกแบบเนื้อหาให้โดนใจและมีความเกี่ยวพันกับผู้เรียนเองด้วย
.
.
ทั้งหมดก็เรียกว่าได้ว่าสามารถเสมือนคล้ายๆการเรียน การสอนในห้องเกือบ 80%
ยังมีอีก 20% ที่ขาดหายไปที่การสอนออนไลน์ยังทำไม่ได้นั่นก็คือ
การกอด การสัมผัสหรือทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องทำร่วมกัน เพื่อสร้างความเชื่อใจ
และนี่คือเสน่ห์ของการเรียนในห้องเรียน ซึ่งตอนนี้เทคโนโลยียังมาแทนที่ไม่ได้
ก็รอดูกันต่อไปว่าจะมีเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้ขนาดนั้นหรือไม่ในอนาคต
.
.
ก็หวังว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้สอนเองไม่มากก็น้อย
มาร่วมเปลี่ยนแปลงประเทศชาติ จากสิ่งเล็กๆที่พวกเราช่วยกันทำดีกว่าค่ะ
สามารถแชร์บทความนี้ให้กับคนที่คุณคิดว่าเป็นประโยชน์ได้เลย
...
อรพินท์ ธีระตระกูลชัย(เทรนเนอร์ซันนี่)
Team Energized Trainer