บางวิกฤตเราก็ไม่มีทางเลือก เพราะฉะนั้นลองปรับที่ตัวเรากันดีกว่า
จากเดิมที่สอนในคลาสใหญ่ๆ มีคนมาเข้าร่วมหลัก 10 ถึงหลัก 100 คน
จนตอนนี้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ เลยขอสรุปสั้นๆ
เผื่อใครจะเอาเทคนิคนี้ไปใช้ตอนสอนออนไลน์บ้าง ก็ยินดี
การสอนออนไลน์มีหลายแบบ เราสรุปสั้นๆ 3 รูปแบบให้เข้าใจง่ายๆ
1. สอนแบบแห้ง : คืออัดคลิปวิดีโอไว้ แล้วไปขึ้น Platform ต่างๆ ขององค์กร
ข้อดีคือ ผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนตอนไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตรงเวลาเดียวกับผู้สอน
อัดครั้งเดียว สามารถใช้ได้นานพอควร ถ้าเนื้อหาไม่เก่า ตกเทรนต์เสียก่อน
ข้อเสีย หากผู้เรียนมีคำถาม อาจจะไม่สามารถถามคนสอนได้ทันที
และคนสอนเองก็ไม่เข้าใจด้วยว่า ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่
...
2. สอนแบบสด: คือแบบ Virtual Class ที่ผู้เรียน ผู้สอนสามารถเห็นหน้ากัน
ตอบโต้กันได้ทันที เพียงแต่ทำผ่านเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ไม่ได้ไปเจอตัวกัน
แบบเมื่อก่อนในคลาส หากผู้เรียนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามผู้สอนได้ทันที
นอกจากนี้ยังสามารถใส่กิจกรรมต่างๆลงไปในคลาสได้อีกด้วย
...
3. สอนแบบผสม: หรือ Hybrid นั่นเอง อาจจะมีให้ไปดูคลิปก่อนเข้าคลาส
หรือสั่งการบ้านให้ทำมาก่อนหรือหลังคลาส แล้วมาเรียนแบบ Virtual Class กัน
วิธีนี้อาจจะเหมาะกับเรื่องที่ต้องการฝึกทักษะให้ผู้เรียน จึงต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ได้กลับไปลงมือทำแล้วค่อยมาเจอกันอีกครั้งหนึ่ง
...
ไม่ว่าจะสอนแบบไหน ลองประยุกต์ 5 เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้เวิร์คกันดีกว่าค่ะ
โดยสรุปเป็นคำย่อแบบ ONLINE
Open Mind: ผู้สอนควรที่จะเปิดใจ เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆบ้าง โปรแกรมไรที่ไม่เคยใช้ ก็ต้องศึกษา
แต่ละโปรแกรมมีข้อดี ข้อเสียต่างกัน ต้องเลือกให้เหมาะกับคนเรียนและองค์กรนั้นๆ
...
Nothing Perfect: ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบตั้งแต่วันแรกที่ทำ
ตอนที่ผู้เขียนสอนออนไลน์ใหม่ๆ ก็มีหลายเรื่องที่ต้องพัฒนา
แต่พอทำไปเรื่อยๆ เราก็ค่อยๆปรับ เรียนรู้ไป มันก็จะเก่งขึ้นเอง
...
Limit Time Learning: จำกัดช่วงเวลาสอนสั้นกว่าแบบออฟไลน์
เพราะการที่นั่งหน้าจอนานๆ ผู้เรียนก็อาจล้าได้เหมือนกัน
หากเป็นแบบแห้งคลิป VDO ควรสั้นๆไม่ควรเกิน 15 นาที
แต่ให้ซอยเป็นหลายๆคลิปแทน
ส่วนการสอนแบบสด ให้มีระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงกำลังดี
หากนานกว่านี้ สมาธิคนเรียนอาจจะไม่อยู่ในช่วงท้ายๆแล้วก็ได้
...
Interpersonal Skill: มนุษยสัมพันธ์ การให้เกียรติผู้เรียนทุกคน ใส่ใจในเรื่องที่เขาพูด
และผู้สอนเองควรพูดด้วยน้ำเสียงชัดถ้อยชัดคำ คนเรียนบางคนอาจจะฟังแค่เสียงในบางช่วง
ถ้าพูดไม่รู้เรื่อง พูดเสียงค่อย ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการสอนลดลงได้
...
Need feedback for improvement: การสอนออนไลน์อาจจะเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับใครหลายๆคน
รวมถึงตัวผู้เขียนด้วย เพราะฉะนั้นสำคัญมากที่เราจะเปิดรับ Feedback เพื่อให้เราได้รู้ว่า
เราควรมีจุดไหนที่พัฒนาเพิ่มเติมอีกบ้าง อาจจะเป็นคำพูดที่ติดปากโดยไม่รู้ตัว
การที่มีคนจะพูดแล้วเราไม่เห็น เป็นต้น
...
Empathy & Encourage participants: เข้าอกเข้าใจผู้เรียนในข้อจำกัด ปัญหาต่างๆ
คอยกระตุ้นให้คนเรียนอยู่กับผู้สอนเสมอ
เช่น ผู้เขียนเคยสอนคลาสช่วงเย็น แล้วมีคนเรียนให้ Feedback มาว่าบางครั้งไม่สะดวกเปิดกล้อง
เพราะหน้าสด หรือกำลังทานข้าวอยู่ เราก็ควรจะเข้าใจข้อจำกัดต่างๆของคนเรียนด้วย
มีการกระตุ้นโดยการเอ่ยชื่อคนเรียน หากเขาสะดวก เขาจะเปิดไมค์ เปิดกล้องมาคุยทันที
แต่ถ้าเรียกแล้วเงียบๆไป เราก็ข้ามไปเรียกคนถัดไปแทน
...
ก็หวังว่า 5 เทคนิคนี้จะช่วยให้การเรียน การสอนแบบออนไลน์มันตอบโจทย์ทั้งคนสอนและคนเรียน
หากคุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อคนอื่น สามารถแชร์ให้พวกเขาเหล่านั้นได้
เพื่อที่เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
หมายเหตุ: ท่านสามารถติดตามผู้เขียนในช่องทางเพจ Facebook ได้
เพราะเรากำลังจะประชาสัมพันธ์ข่าวดีเร็วๆนี้มอบให้เฉพาะผู้ที่สนใจพัฒนาตนเอง
...
...
อรพินท์ ธีระตระกูลชัย(เทรนเนอร์ซันนี่)
Team Energized Trainer