เคยมีคนมาถามว่า ทำงานแบบนี้ พี่ไม่เครียดบ้างหรอ
แล้วคำว่า Sympathy กับ Empathy มันต่างกันไหม
เลยขอตอบเป็นบทความนี้ด้วยอีกทาง เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น
ที่เคยมีคำถามนี้ในหัวเหมือนกันค่ะ
เวลามีคนมาขอคำปรึกษาหรือว่าคุยด้วย รับฟังปัญหาของคนอื่น
เราต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความรู้สึกตัวเองกับความรู้สึกของคนอื่น
เรียกได้ว่าต้องมีสวิตซ์เปิด ปิด อัตโนมัติ ถ้าแยกแยะไม่ได้
เราจะดำดิ่งไปกับเรื่องของเขา แล้วเราก็แบกอารมณ์ความรู้สึกนั้นกลับมาด้วย
สุดท้ายคนที่แย่คือเรา ผู้ให้คำปรึกษา นั่นเอง
..
..
Empathy คือ มองทุกอย่างจากสายตาของเขา เข้าใจผู้อื่นจากจุดที่เขายืน
หรือความเข้าอกเข้าใจคนตรงหน้าหรือผู้ใช้งาน ลูกค้า
เช่น เวลาเพื่อนเราอกหัก เพิ่งเลิกกับแฟนมา
ถ้าเป็นเราก็คงเสียใจแบบนี้เหมือนกัน อาจจะหนักกว่าเธอซะด้วยซ้ำ
เราเข้าใจถึงความเสียใจของเพื่อน รู้สึกเห็นอกเห็นใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น
แต่เราไม่จำเป็นต้องร้องไห้ไปกับเขา แค่เข้าใจว่าที่เขาเสียใจ
เขาโกรธมาจากไหน Empathy เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ไม่ใช่แค่
นักจิตวิทยาหรือคนที่ทำงานออกแบบ ติดต่อกับลูกค้าต้องมี
ลองคิดภาพตามว่าถ้าคนที่เราคุยด้วย เขามี Empathy
เข้าใจว่าเรากำลังสื่อสารอะไร คิดอะไร รู้สึกอะไรอยู่
เราก็จะรู้สึกดีด้วยที่เขาเข้าใจเรา
..
..
Sympathy คือ การมองและตัดสินสิ่งต่างๆ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวเราเอง
(คิดแบบเราในเรื่องของเขา ไปจนถึงแบกรับเรื่องของคนอื่นเข้ามาเป็นของเรา)
ความรู้สึกเศร้า เสียใจ สงสารกับอีกฝ่าย
อาทิ เวลาเราเห็นคนร้องไห้ เราก็รู้สึกเสียใจไปด้วย เศร้าแทนเขา
เรารู้สึกสงสารที่เพื่อนเราโดนแฟนทิ้ง แล้วก็รู้สึกไม่ชอบแฟนเพื่อนไปด้วย
เราอาจบอกว่า ช่างมันเถอะ มีผู้ชายดีๆอีกตั้งเยอะ
หน้าตาดีๆอย่างเธอ เดี๊ยวก็มีคนมาจีบ เชื่อฉันซิ
..
..
หากมองจากภาพข้างบน อาจจะเข้าใจมากขึ้น
ในสถานการณ์ที่เราอยากเข้าใจลูกค้าว่าที่เราออกแบบผลิตภัณฑ์
บริการ การใช้งานแบบนี้ ลูกค้าจะรู้สึกอย่างไร เราก็ควรมีความ Empathy เข้ามา
เพื่อออกแบบได้ตรงใจผู้ใช้งานมากที่สุด
เราสามารถฝึกทักษะ Empathy ได้จากการฝึกสังเกตว่าเขาทำอะไร
เขาพูดอะไรออกมา เขากำลังคิดหรือรู้สึกอย่างไรอยู่
..
..
และผู้เขียนเชื่อว่า หลายๆคนที่มาปรึกษาผู้เขียนในโครงการนี้
ก็คงอยากได้ความ Empathy กลับไป
เราต้องไม่ตัดสินความผิดถูกชั่วดีในสิ่งที่คนอื่นเล่าให้เราฟัง
เราจะเอาทัศนคติคนอื่นมาใส่ในใจเรา
แม้ว่าเราอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
เราจะต้องอ่านความรู้สึกของคนตรงหน้าขาด
และสื่อสารให้คนอื่นรู้ว่า เรากำลังรู้สึกอย่างที่เขากำลังรู้สึกนะ
..
..
เขาคงไม่ได้อยากให้ผู้ให้คำปรึกษามา Sympathy กับเขา
เพราะถ้าผู้ให้คำปรึกษาไม่สนใจ ว่าผู้ขอคำปรึกษาจะรู้สึกอย่างไร
แบบนี้เรียกว่า เรากำลัง Apathy เขาอยู่
ลองคิดภาพว่าเวลาเราพูดกับใคร แล้วเขาดูไม่สนใจ ทำอย่างอื่นอยู่
เราจะรู้สึกยังไง
..
..
มุมกลับกันเวลาที่เราไปคุยกับใคร หรือคุยกับแฟนเรา
เราก็คงอยากให้เขา Empathy ฉันหน่อยนะ
ช่วยแก้ได้ ไม่ได้ไม่รู้ อย่างน้อยก็ทำให้รู้สึกดี
...
ก็ลองไปปรับใช้ในแต่ละสถานการณ์ดูว่า คำไหนเหมาะกับบริบทใด
ส่วนใครที่ต้องการเพื่อนชวนคุย เพื่อนชวนคิด เพื่อนชวนถาม
ในสิ่งที่คนอื่นอาจจะไม่เคยถามเราเลย เพื่อให้ชีวิตเราก้าวไปข้างหน้า
ก็ทักมาร่วมโครงการกับเราได้ตามภาพข้างล่างนี้เลย
เพราะเราเชื่อว่าพลังใจ หนึ่งสมอง สองมือในภาวะวิกฤตเช่นนี้ของเราทุกคนสำคัญ
หากคิดว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับใครบ้าง
สามารถแชร์บทความนี้ต่อได้เลย เพื่อพวกเราจะช่วยกันเปลี่ยนแปลงประเทศชาติ
จากสิ่งเล็กๆที่พวกเราถนัดและเริ่มได้ นั่นก็คือ เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเอง
..
อรพินท์ ธีระตระกูลชัย(เทรนเนอร์ซันนี่)
Team Energized Trainer
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า